อยากเล่า การเดินทางของสายลม EP 1. cashless society
สังคมที่มีระบบชำระเงินที่ไม่ขึ้นตรงกับเหรียญหรือแบงค์ ไม่เกี่ยวกับเงินตรานะเรายังต้องใช้กันอยุ่และยังคงต้องใช้อีกนาน ฮ่าๆๆ cashless socity ในที่นี้หมายถึง คนในระบบไม่ต้องใช้เงินที่จับต้องได้ ไม่ต้องใช้ physical form ของเงินตรานั้นๆ แต่ใช้ digital form ของมัน (เราจะไม่พูดถึง decentralized currency, bitcoin หรือ เงินตรา digital อื่นๆ นะ เพราะเรื่องนั้นก็อีกเรื่อง ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันเล็กน้อย ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะเล่าให้ฟัง) ถ้ามีเพื่อนสิงค์โปร์ ก็ถามมันได้เลย ก็ไม่ต้องอ่านเรื่องของเราให้เสียเวลา เพราะเพื่อนบ้านเราเป็นประเทศที่มีการจ่ายโดยไม่ใช้เงินจริงสูงที่สุดในโลก
ระบบ cashless จีน
สำหรับจีนพึ่งจะเอาระบบนี้มาใช้ได้สักพักแต่ก็ยังไม่นานนัก เราได้มีโอกาสไปอยุ่แบบคนจีน จี้นจีน ประมาณ 15 วัน ไม่เยอะ แต่อยากแชร์คนไทย ว่าชีวิต cashless มันเป็นยังไง แฟนเราชื่อญ่าหนี yani เป็นหมวยจีน ชาวฮัน วันหยุดหนึ่งวันในชีวิตญ่าหนี มีการจ่ายเงินประมาณ 20-30 transaction(ครั้ง) ต่อวัน เช่นน้ำมันรถ ค่าทางด่วน จักรยาน ค่ารถบัส ค่าใต้ดิน ค่าน้ำ ค่าอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ของหวาน เค้ก ไอติม haagen dazs รสโอริโอ้! สองครั้ง!! ยังไม่จบ ไอติมรสโอริโอ้ที่ dairy queen อีกหนึ่งครั้ง!! ค่าเช่า power bank ค่าหนังสือ ค่าตั่วรถไฟ ค่าโรงแรม ค่าเข้าพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเทียวต่างๆในช่วงวันหยุดแห่งชาติ
ใช้งาน
ญ่าหนีเปิดกระเป๋าตังตัวเองเพื่อหยิบเงิน 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งแรกคือหยิบเงินให้เราถือเก็บไว้ จำนวนหนึ่งเผื่อเราหลงทางจะได้นั่งรถกลับเอง (เราไม่ได้แลกเงินจีนไปสักหยวน) ครั้งที่สองซื้อน้ำที่ตู้หยอดเหรียญ ความ peek อยู่ที่ ตู้หยอดน้ำสามารถจ่ายตังแบบ cashless ได้ แต่บังเอินว่าระบบการจ่าย cashless มัน offline อยุ่ เลยจำต้องควักเหรียญ - นี่หมายความว่าในวันปกติญ่าหนีแทบไม่ต้องใช้เงินจริงเลย!
แล้วใช้อะไร?
แล้วญ่าหนีใช้อะไรจ่าย? - ใช่ เรารู้ว่าเธอรู้ -**ใช้มือถือจ่าย **เป็นระบบที่ง่ายมาก ไม่ซับซ้อนขนาดต้องใช้เทคโนโลยี NFC แบบ Samsung pay หรือ Apple pay นะ ไม่ต้องมาท้งมาทัช (ถ้าผิดเรื่อง Apple Samsung pay กราบขออภัย) เป็นระบบโคตรง่ายแบบอยากจะตบกะโหลกตัวเองสักที (ประเทศเทศเราก็มีแล้วนะจ๊ะ จะบอก)
ตบกะโหลกตัวแล้วยัง?
ระบบนี้เป็นการ scan barcode หรือ QR code ของร้านหรือ transaction ของร้านนี่เอง ของง่ายๆนี่มีข้อดีนะ
- มือถือกากๆ ก็สามารถ scan QR code ได้ ไม่ต้องมี NFC
- ไม่ขึ้นตรงกับ platform ใดๆเป็นพิเศษ เพราะ apple android window phone ก็ scan QR ได้หมือนกัน
- ความง่าย (มันอยุ่ใน wechat แล้ว เคยได้ยินเรืื่อง
one all rule them all
ไหม) และความไว เพราะงี้นี่เองทำให้การ adoption เกิดขึ้นทั่วจีนอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคก็ชอบ พอคนใช้เยอะ ร้านค้าก็อยากมีไว้เป็นช่องทางในการรับเงินเพิ่ม
Photo by Jonas Leupe / Unsplash
App ที่มีให้ใช้ใหญ่ๆ ก็จะเป็น Alipay
และ wechat pay
ลูกค้าก็จะเชื่อมต่อบัญชี หรือบัตรเครดิตกับ account ของ app. ส่วนร้านค้า
ส่วนใหญ่ที่พบ option 2 แบบ
- scan static QR ของร้าน เป็นการให้ลูกค้า scan บัญชีของร้าน และกรอกเงินที่จะโอนเข้าไปโดยตรง เหมาะกับร้านเล็กๆ ร้านที่แทบจะไม่มีเครื่องจ่ายตัง หรือ ระบบ POS เลย ตัวอย่างเช่น ร้านขายข้าวแกง ร้านขายติ่มซำ(ตามภาพเลย) ร้านขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารเล็กๆริมทาง ตัวอย่างที่โหดสุดคือร้านขายไอติมบนภูเขา ต้องเดินขึ้นไปหนึ่งชั่วโมง เจ้าของร้านแค่ต้องมีมือถือเพื่อยืนยันการจ่ายเงินเท่านั้น
- scan transaction ที่ generated ผ่านเครื่องจ่ายตัง ให้ลูกค้าสะแกน QR ที่สร้างขึ้นมาพิเศษสำหรับการซื้อครั้งนั้นๆ ลูกค้าจะได้รับข้อมูลราคาและของที่ตัวเองกำลังจะจ่าย หลังจากลูกค้าจ่าย ระบบจะยืนยันผ่านเครื่องจ่ายตังให้พนักงานรู้ทันที
- อันนี้แถม ให้ฝั่งลูกค้ากด QR code ของตัวเองขึ้นมาแล้วให้ร้าน scan ก็จะนับเป็นการจ่ายตังทันที - อ้าว! แล้วถ้ามีคน capture screen หน้าจอมือถือเราแล้วเอาไปใช้จ่ายหละ? - อันนี้เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะ ขอเดาให้นะ ถ้าเราเป็นคนทำระบบ - QR ที่เรากดให้ร้านดูจะต้องมีระยะที่เวลาที่มัน valid ถ้าเกินเวลานี้ถือว่าเก่าไปแล้วใช้ไม่ได้ เพราะงั้น QR จะต้องมีข้อมูล encrypted time validation หรือ มี feedback มายังมือถือเพื่อ confirm การชำระเงิน
ทั้งหมดทั้งมวลของเรื่องนี้ ไม่ได้อยุ่ที่ความพิเศษของเทคโนโลยี แต่อยุ่ที่ทำยังไงให้ การ adoption เกิดขึ้นรวดเร็ว ทำให้ให้คนหันมาใช้ เพราะทั้งหมดนี้ประเทศไทยมีแล้ว - ตอนนี้นายสามารถสร้าง QR แล้วรับเงินผ่านช่องทางเหล่านี้ได้เลย - ผ่าน แอป scb kbank ใช้ช่องทาง ผ่าน QR promptpay เป็นต้น หรือสำหรับห้างร้านก็มี true money line pay เป็นต้น
แล้วข้อเสียหละ?
มีครับ เอาไว้ก่อนนะ คราวหน้า
แต่ความจริงข้อดีมีอีกนะ
Photo by rawpixel.com / Unsplash